วันทำการ
จันทร์- ศุกร์ 08:00 –17:00 น.
เสาร์ 08:30 - 16.00 น.

Tel.
02-6690773-6 (ฝ่ายขาย)
02-6692511-12 (ฝ่ายจัดซื้อ - บัญชี)




ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ แต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร ?

Create 2019-12-24 | 10:10:14

    บทความจาก Thanop.com นี้ไม่ใช่บทความรีวิว เหมือนที่ผ่านมา แต่เป็นบทความให้ความรู้ที่ผมเขียนขึ้นมา เพื่อให้ความรู้ในเรื่องของ ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ที่เอามาประกอบทำ โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ ต่างๆ นั้นมีความแตกต่างเป็นอย่างไร รวมไปถึง กระบวนการผลิต ตลอดจน ข้อดี ข้อเสีย ของ ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ พร้อมรูปประกอบ แต่ละชนิดให้ดูกัน เป็นความรู้ประดับเอาไว้ เผื่อเวลาไปซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบสำเร็จรูป น็อคดาวน์ หรือแม้แต่ เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน เวลาช่าง หรือ คนขายแนะนำอะไร จะได้เข้าใจ และไม่โดนหลอกเอาง่ายๆ ทั้งนี้บทความนี้ จะกล่าวถึง ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ หลักๆ เท่านั้น ไม่รวม ไม้โครง ไม้ทำพื้น ต่างๆ นะ

    ถ้าหากพูดถึง ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ในปัจจุบันนั้น อุตสาหกรรมด้านการ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ได้พัฒนาไปไกลมาก มีการใช้วัตถุดิบต่างๆ มาทำเฟอร์นิเจอร์มากมาย ทั้งวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติล้วนๆ แบบ 100% และ วัตถุดิบแบบสังเคราะห์ โดยที่แต่ก่อนมีเพียงไม้อัด หรือไม้แท้ที่นำไม้มาทำเฟอร์นิเจอร์ เท่านั้น
    โดยตอนนี้มีไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ชนิดอื่นๆ อีก ซึ่งง่ายต่อการประกอบและขนย้ายมากขึ้น ทั้งยังเป็นตัวเลือกในการตกแต่งบ้านได้ดีเลย แล้วยังมีสีสันให้เลือกหลากหลายเลยทีเดียว ทำให้การแต่งบ้านสวยงาม และสนุกยิ่งขึ้นสำหรับคนรักบ้านอย่าได้พลาดที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์กัน

     โดยหลักๆ แล้ว ปัจจุบัน ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน โดยผมขอเรียงลำดับจาก ไม้คุณภาพต่ำ ไปยัง ไม้คุณภาพสูง (ซ้ายไปขวา) เลยคือ ไม้ปาติเกิล → ไม้ MDF → ไม้อัด → ไม้แท้ หรือ ไม้จริง และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ขอมาเริ่มกันเลยดีกว่า

     1. ไม้ปาติเกิล (Particle Board)
     2. ไม้ MDF (Medium-Density Fiberboard)
     3. ไม้อัด (Plywood)
     4. ไม้แท้ หรือ ไม้จริง (Wood)
     5. 
สุดท้ายก่อนจากกัน (Conclusion)

 


ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thanop.com/


บทความนี้มีเพื่อให้ความรู้ที่ผมเขียนขึ้นมา เพื่อให้ความรู้ในเรื่องของ ไม้ทําเฟอร์นิเจอร์ ที่เอามาประกอบทํา โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ ต่างๆ นั้นมีความแตกต่างเป็นอย่างไร รวมไปถึง กระบวนการผลิต ตลอดจน ข้อดี ข้อเสีย ของ ไม้ทําเฟอร์นิเจอร์ พร้อมรูป ประกอบ แต่ละชนิดให้ดูกัน เป็นความรู้ประดับเอาไว้ เผื่อเวลาไปซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบสําเร็จรูป น็อคดาวน์ หรือแม้แต่ เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน (Build-in) เวลาช่าง หรือ คนขายแนะนําอะไร จะได้เข้าใจ และไม่โดนหลอกเอาง่ายๆ ทั้งนี้บทความนี้ : กล่าวถึง ไม้ทําเฟอร์นิเจอร์ หลักๆ เท่านั้น ไม่รวม ไม้โครง ไม้ทําพื้น ต่างๆ นะจะถ้าหากพูดถึง ไม้ทําเฟอร์นิเจอร์ ในปัจจุบันนั้น อุตสาหกรรมด้านการ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ได้พัฒนาไปไกลมาก มีการใช้วัตถุดิบ ต่างๆ มาทําเฟอร์นิเจอร์มากมาย ทั้งวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติล้วนๆ แบบ 100% และ วัตถุดิบแบบสังเคราะห์ โดยที่แต่ก่อนมี เพียงไม้อัด หรือไม้แท้ที่นําไม้มาทําเฟอร์นิเจอร์ เท่านั้น

โดยตอนนี้มีไม้ทําเฟอร์นิเจอร์ชนิดอื่นๆ อีก ซึ่งง่ายต่อการประกอบและขนย้ายมากขึ้น ทั้งยังเป็นตัวเลือกในการตกแต่งบ้านได้ดี เลย แล้วยังมีสีสันให้เลือกหลากหลายเลยทีเดียว ทําให้การแต่งบ้านสวยงาม และสนุกยิ่งขึ้นสําหรับคนรักบ้านอย่าได้พลาดที่ต้อง ทําความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของไม้ที่ใช้ทําเฟอร์นิเจอร์กัน

โดยหลักๆ แล้ว ปัจจุบัน ไม้ทําเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน โดยผมขอเรียงลําดับจาก ไม้คุณภาพต่ํา ไปยัง ไม้ คุณภาพสูง (ซ้ายไปขวา) เลยคือ ไม้ปาติเกิล → ไม้ MDF → ไม้อัด → ไม้แท้ หรือ ไม้จริง และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ขอ มาเริ่มกันเลยดีกว่า

ไม้ปาติเกิล (Particle Board)




ไม้ประเภทแรก ที่จะนํามาทําความรู้จักคือ “ไม้ปาติเกิล” หรือ “Particle Board” ชนิดนี้ ส่วนมากจะเป็นการนําเศษไม้ ยางพารา ขนาดเล็ก แต่ไม่ได้บดละเอียดถึงกับเป็นผง หรือ ที่เรียกว่า “ขี้เลื่อย (Sawdust หรือ Wood Dust)” โดยขี้เลื่อยเหล่านี้จะ มีขนาดที่ไม่เท่ากัน บางเศษก็มีขนาดใหญ่ บางเศษก็มีขนาดเล็ก แล้วนํามาผ่านกรรมวิธี อัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว และ ผ่าน กระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ต่างขนาดกัน อาทิ แผ่นไม้ขนาด 1.20 x 2.45 เมตร โดยความหนาของไม้ที่นิยมใช้มาทํา เฟอร์นิเจอร์ จะมีความหนาต่อแผ่นอยู่ที่ประมาณ 15 มิลลิเมตร และ 25 มิลลิเมตร เท่านั้น แล้วแต่คุณภาพ

 

โดยพื้นผิวด้านนอกนั้นส่วนใหญ่แล้ว ทางผู้ผลิตไม้ปาติเกิล จะปิดทับด้วยกระดาษพิมพ์ลายไม้ แผ่นฟอยล์ (Foil) หรือ แผ่นเมลามีน ก่อนการใช้งาน งานไม้ชนิดนี้นิยมนําไปทําเฟอร์นิเจอร์อันดับต้นๆ ในอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีราคา ต้นทุนที่ต่ํามาก และด้วยความที่เศษไม้ เศษขี้เลื่อยมีขนาดไม่เท่ากัน แต่ถูกนํามาอัดนั้น จึงอาจจะทําให้มีอากาศแทรกอยู่ด้านใน

ระหว่างช่องว่างของเศษขี้เลื่อยด้านในได้ด้วยเช่นกัน



ไม้ MIDF (Medium-Density Fiberboard)

ต่อกันที่ไม้ประเภทที่สองคือ “ไม้ MIDF” ซึ่งคําว่า MDF นี้ย่อมาจากคําว่า “Medium-Density Fiberboard” เราสามารถ

แปลเป็นภาษาไทยตรงๆ ตามชื่อความหมายภาษาอังกฤษของมันได้ว่า “แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง”

โดยไม้ชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกับ ไม้ปาติเกิล (Particle Board) คือเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัด ดังที่ได้กล่าวมา ด้านบน แต่ว่า ไม้ MDF จะต้องผ่านกระบวนการอัดไม้ ด้วยเครื่องบดอัดไม้เฉพาะที่มีแรงอัดสูงมาก พร้อมกับความร้อน ด้วย เครื่องจักรเฉพาะทาง ความหนาแน่น จะอยู่ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m) ขึ้นไป

ด้วยกระบวนการผลิตที่มีความละเอียด ซับซ้อนขนาดนี้ จึงทําให้เนื้อไม้ มีความแน่น ละเอียด ผิวเนียนมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล แม้ว่า ส่วนใหญ่ ไม้ MDF จะเศษขี้เลื่อยของ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา แต่บางโรงงานถ้าอยากผลิต ไม้ MDF ที่มีคุณภาพดีหน่อย เขาจะ นําไม้ท่อน มาบดอัดแทนเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีกว่า

โดยขนาดมาตรฐานของ แผ่นไม้ MDF ที่ขายกันตามท้องตลาด อยู่ที่ 1.22 x 2.45 เมตร (หรือ 4 x 8 ฟุต) ต่อแผ่น สามารถบวกลบ (4) ได้นิดหน่อย เรื่องความหนาของแผ่นไม้ MDF ที่นิยมนํามาทําเฟอร์นิเจอร์ มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 3 มิลลิเมตร ถึง 25 มิลลิเมตร กันเลยทีเดียว ขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้ประกอบ หรือ รับน้ำหนักส่วนไหนของเฟอร์นิเจอร์

โดยพื้นผิวด้านนอก ของ ไม้ MDF นั้นสามารถปิดผิว ได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น การปิดผิวด้วย กระดาษลายไม้ หรือลาย อื่นๆ หรือจะ ปิดพื้นผิวด้านนอก ด้วยพีวีซี (PVC) ก็จะมีความแข็งแรงขึ้นมาอีกหน่อย รวมไปถึง การพ่นสีทับไปบนพื้นผิวด้าน นอก ได้เช่นกัน

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ จะได้งานไม้ที่มีความเรียบเนียนกว่างานไม้ปาติเกิลบอร์ดมากๆ ขึ้นรูปได้สะดวก เจาะรูง่าย ทําออกมาเป็น ชิ้นงานง่ายขึ้น เน้นเรื่องการทําสีเป็นส่วนใหญ่ และราคาถูกกว่าไม้อัด อยู่พอสมควร



ไม้อัด (Plywood)



ไม้ประเภทที่สามคือ “ไม้อัด” หรือ “Plywood” ถือเป็นไม้ที่มีคุณภาพดีขึ้นมาอีกระดับ พูดง่ายๆ คือดีกว่าทั้ง ไม้ MDF และ ไม้ปาร์ติเกิ้ล ที่ได้กล่าวมาด้านบน ในแง่ของความทนทาน แข็งแรง และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่น การกันน้ํา กันปลวก เป็น ต้น เพราะกระบวนการ การผลิต แรกเริ่ม ไม่ได้นําเอาไม้มา

โดยส่วนใหญ่ ไม้อัด จะมีกระบวนการผลิตโดยที่ นําไม้มาปอกเปลือกชั้นนอกที่ตะปุ่มตะป่าออกไปออกไป ต่อไปเป็น กระบวนการ ทําให้บาง และ อัดเป็นชั้นๆ จนแน่น หลังจากนั้นนําไปผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งอาจเป็นการนํามาผสมกับกาว ร้อนหรือกาวเย็น ตามสูตรเฉพาะ ของโรงงานผลิตไม้ในแต่ละที่ และ ปิดผิวด้วยเยื่อบุไม้ ซึ่งไม้อัด นั้นก็ทํามาจากไม้ชนิดต่างๆ หลากชนิด ถือว่ามีหลากหลายเอามากๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิต หรือ ลูกค้า จะเอาไม้ชนิดใด ประเภทใด มาอัดขึ้นรูปนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ไม้อัดยาง หรือ ไม้ยางพาราประสาน, ไม้อัดสัก, ไม้อัดสักอิตาลี, ไม้อัดแฟนซี หรือ ไม่อัดลวดลาย

คุณสมบัติของ ไม้อัด นั้นนอกจากจะมีความคงทน แข็งแรง แล้ว ทางผู้ผลิตหรือจัดจําหน่าย บางแห่งก็จะพ่วงเอาคุณสมบัติพิเศษ มาให้เลือกใช้กันอีกด้วย อย่างเช่น ความสามารถของการกันน้ํา กันปลวกและแมลงจําพวกกินเนื้อไม้ได้เป็นอย่างดี ที่เขาจะใช้ กาวชนิดพิเศษในการยึดเนื้อมา ผสมกับน้ํายากันปลวก เข้าไปในแต่ละชั้นของไม้ ด้านนอกอาจจะมีการทาน้ํายาพิเศษเคลือบ

แบะนอกจากนี้แล้ว สามารถนําไปปิดผิวเพิ่มเติมเองได้ และยังแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood), ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood), ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood)

ไม้จริง (Wood)


ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนสุดท้ายคือ ไม้จริง ” หรือ “ ไม้แท้ ( Wood)” จะสามารถแยกออกได้ ไปหลากหลายชนิดเช่นกันนอกจากนี้แล้ว เนื้อไม้ของไม้แท้ กับอายุของเนื้อไม้ที่โตแล้ว ก็มีความแตกต่างกันมากในเรื่องของราคาและการนำมาใช้งาน แม้จะเป็นไม้ประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกันก็ตาม ส่วนใหญ่จะนับเป็นแบบ หน้าไม้ท่อน ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป เรื่องความหนาไม่ต้องเป็นห่วงเลย เพราะเป็นไม้เนื้อเดียว จากธรรมชาติเลยจริงๆ ไม่ได้ถูกบด แล้วนำมาบีบอัดทีหลัง เหมือนไม้ที่กล่าวมาด้านบน ดังนั้นความทนทานจะสูงมากๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องทำการอบน้ำยาเพื่อป้องกันเชื้อรา แมลง ปลวก มอดกินไม้ ต่างๆ ด้วย










Scroll To Top